Content > Handbook

เรียนจบแล้ว แต่จะขนของกลับไทยยังไงดี ??

คำเตือน…บทความนี้มีศัพท์เด็กเกรียนเยอะ โปรดใช้วิจารณญาณก่อนการเสพย์ และหากข้อมูลผิดพลาดประการใด ทางกระผมผู้เขียนขอไม่รับผิดชอบ แนะนำให้ไปด่าบริษัทมันเอาเอง ที่มาเจือกเปลี่ยนข้อมูล โอเค โอเค๊ ~~

คุณเคยเจอมั้ย ปัญหาว่าไอ้นั่นก็อยากเอากลับ ไอ้โน่นก็อยากเอากลับ ไอ้นี่ก็อยากเอากลับสรุปว่าอยากเอากลับไทยหมดเลยยยย (เพราะตรูงก 55+)

แต่ ติดปัญหาที่ว่าน้ำหนักจำกัดเอาขึ้นเครื่องบินกลับไม่ได้ ของขนาดที่ใหญ่เกินไปจนเอาใส่กระเป๋าเดินทางไม่ได้ หรือขี้เกียจแบกกลับไทยจำใจต้องทิ้ง วันนี้เรามาเสนอทางเลือกเอาของกลับไทยครับ ^o^

สำหรับ นร.ทุนมง JAL ให้น้ำหนักรวม 46 kg ครับ แต่จำกัดได้แค่ 2 ชิ้น ชิ้นละไม่เกิน 23 kg ส่วนน้ำหนักที่เกินกว่านั้น ต้องเป็น carry-on ครับ ไม่เกิน 11 kg แต่ถ้ามันหนักจนผิดสังเกตก็มีสิทธิโดนให้ชั่งน้ำหนักได้เหมือนกันครับ

กรณี ที่น้ำหนักเกินตอนนั้นผมโดนปรับ 10,000 เยนได้ เข้าใจว่าใน 10 kg แรกเป็นระบบเหมา(รึเปล่าอันนี้ไม่ชัวร์เหมือนกัน) คือขี้เกียจจัดกระเป๋าแม่งแระ ใบนึง 31 อีกใบ 16 kg  )

========================================

สำหรับใครที่ไม่อยากเอาน้ำ เอาเนื้อๆ ดูตาม flow นี้ได้ครับ

a. ของน้ำหนักไม่เกิน 30 kg –>   Y = 1.               N => b.

b. มีเครื่องใช้ไฟฟ้า –>                   Y = d.               N => c.

c. ของน้ำหนักไม่เกิน 70 kg –>   Y = 2.               N => d.

d. มีของชิ้นใหญ่ที่คิดว่าใส่กล่องปกติไม่ได้ –> Y => e. N => 3.

e. ปริมาตรรวมเกิน 2 ลบ.ม. –>    Y = 5.               N => 4.

========================================

1. Yucho 

คุณ โชคดีมากที่ได้แบบแรก เพราะของคุณช่างน้อยเสียนี่กระไร ค่าส่งก็ถูกตามไปด้วย แต่ limit ของน้ำหนักไม่ควรเกิน 30 kg ถ้ามากกว่านั้นหักลบกลบหนี้แล้ว ไม่คุ้ม!!!! (บอกแล้ว คนเขียนงก เอ๊ย เค้าเรียกว่าใช้เงินเป็น 55+)

ส่วนใครที่ต้องการจะใช้บริการยูโฉะหรือไปรษณีย์ก็แพ็คของลงก่อน เดินไปติดต่อไปรษณีย์ได้เลยครับ หรือจะให้ทางไปรษณีย์มารับก็ได้เหมือนกัน แต่เสียตังเพิ่มครับ อันนี้ ราคาเชคจากทางเว็บของยูโฉะได้เลยครับ บอกเรทไว้อยู่ หากใครรวยอยากได้เร็วๆ ก็ส่ง air mail ไปเลยครับรับรอง ยังไม่ทันหย่อนตูดลงที่เมืองไทย ของแม่มก็ไปถึงแล้ว

2. Zeatrans

แบบสอง สำหรับสมาชิกพรรคกระยาจก ที่มีของน้อยเบี้ยน้อยหอยน้อย น้ำหนักรวมไม่เกิน 70 kg

เราขอแนะนำ บริการจากบริษัทยอดนิยม zeatrans (ไม่แน่ใจสะกดถูกมั้ย) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า tanakan (ชื่ออีตาคนเขียนบทความนี้เอง แอบโปรโมทเนียนๆ ><”) เอ้ยมันชื่อ tanaka

ใครสนใจสามารถโทรติดต่อได้โดยตรงที่เบอร์ 080-3175-4620 เรียนสายคุณปุ๊กได้เลยครับ แต่ด้วยความหวังดี ขอเตือนนิดนึงส์ว่า ถ้าถามเซ้าซี้พี่แกมากๆ อาจโดนปลายทางจิกสายด้วยคำพูดได้ครับ 55+

สำหรับซีทรานส์ ทางบริษัทจะให้กล่องมาจำนวน 1 ใบเท่านั้น ขนาด 75x60x54 cm ใส่หนักเท่าไรก็ได้ครับ ขอให้ไม่เกิน 70kg เป็นใช้ได้ เกินกว่านั้นอาจโดนปลายทางด่ากลับได้!!

แล้วทางบริษัทจะให้ยามะโตะ (แมวดำ) มารับของเราไปอีกทีครับ โดยถ้าเป็นจากโอตะคุ (ไม่ได้หมายถึง โรคจิตโอตาคุนะคร้าบ มันเป็นชื่อเขตนึงในโตเกียวที่ดันไปพ้องเสียงกัน) จะได้ราคาที่ต้องจ่ายให้บริษัทซีทรานส์ 19,000 เยนครับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้ยามะโตอันนี้ต้องจ่ายต่างหาก และที่สำคัญถ้าของมันหนัก เราต้องช่วยทางยามาโตะยกด้วยครับ

อันนี้เป็นแบบ door-to-door เรียบร้อยแล้วครับ ฉะนั้นส่งไปเสร็จกลับไปนอนตีพุงอยู่ที่บ้านรอได้เลย

ส่วนเวลาที่ใช้ประมาณ 15-20 วันนับจากวันที่เรือออกจากท่าเรือครับ

ปูลู ตอนนี้ทาง zeatrans ไม่รับส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าครับทุกกรณี ไม่ว่าจะต้อง declare ภาษี หรือไม่ต้องก็ตาม แต่ถ้าจำเป็นต้องส่ง ต้องติดต่อเป็น case by case ครับ (ตอนนั้นเจ๊แกบอกว่า ถ้าเป็นเปียโน…แกจะยอมส่งให้ ทั้งที่เปียโนมันใหญ่โพดๆ -_-“)

3. Thai cargo express (Kenko)

แบบที่สาม สำหรับคนของเยอะโพดๆ แต่เป็นของชิ้นเล็กกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก น้ำหนักเราให้เต็มที่ถึง 245 kg เรียกว่าขนของกันให้สะใจเลยยย ใครที่คิดจะซื้อของฝากกลับไปไทย แนะนำบริการนี้เลยครับ จะได้ยัดของลงกล่องกันอย่างคุ้มโคด 55+  แถมยังเป็นบริการแบบ door-to-door ด้วยเหมือนกัน (ใครอยากได้ door-to-port ก็ต้องคุยต่อลองกันดูครับ)

อันนี้เป็นบริการ Thai Cargo Express ของบริษัท kenko โดยทางบริษัทจะมีโปรให้เราเลือก 2 แบบ คือ

A. Lx3 + Mx3 (Max 210 kg)

B. Lx2 + Mx5 (Max 245 kg)

โดยขนาดกล่อง size L มีขนาด 61 x 43 x 46 ส่วน size M ขนาดเป็น 43 x 33 x36 โดยที่แต่ละกล่องห้ามใส่น้ำหนักเกิน 35 kg

อันนี้เหมาจ่ายเบ็ดเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ สนนราคาที่ 54,000 เยน 

ปูลม ในกรณีที่ขนเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าลืมแพ็คพลาสติกกันกระแทก แล้วก็ทำ inventory list ให้เค้าด้วยนะคร๊าบ

4. Kaigai rakuraku (Kenko)

แบบที่สี่ อันนี้ก็เป็นบริการของ kenko เหมือนกัน แต่ขอเป็นหน้าม้าให้เลย บริษัทเดียวกับข้อ 3 พนง.คุณลุงที่โทรไปใจดีมว๊ากกกกกกกก ของผมปริมาตรเกิน น้ำหนักก็เกิน แกยังใจดีให้เรทนี้เลย แถมยังมีการบอกว่า อย่าลืมไปบอกต่อเด็กไทยด้วยนะ (ฮาาาา)

สำหรับคนที่มีของย๊ายใหญ่ (ทำมายอะ กรูรวยยย ซื้อของเข้าห้องเยอะ 55+) ใส่กล่องขนาดมาตรฐานไม่ได้ แต่อยากเอามันกลับบ้านไปด้วย เช่น ทีวี เครื่องออกกำลังกาย ฯลฯ ขอแนะนำให้เช่าตู้ โดยที่ปริมาตรที่เราได้จะอยู่ที่ 2 ลบ.ม. ครับ แต่อย่างที่บอกมันขอเพิ่มได้โดยอยู่ที่ว่า คุณลุงจะพิศวาสเราอะป่าววว 55+

ซึ่งของผมเองได้กล่องใหญ่มา 4 กล่อง กับเล็กอีก 4 กล่อง ถ้านับรวมกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องออกกำลังกาย แยกอีก 3 รวมทั้งหมดเป็น 11 กล่อง

ส่วนของอันนี้ที่ใหญ่กล่องเค้าไม่ได้ ก็ทิ้งไว้อย่างนั้นหละครับ แต่ถ้าเรามีกล่องที่ได้จากตอนซื้อมา ก็ควรใส่กล่องนั้นด้วยดีกว่า แต่ทางเคงโก จะมีตัวแพ็คกันกระแทกกล่องเราให้อีกชั้นนึง ตอนที่เคลื่อนย้าย

ใครสนใจก็โทรนัดวันเวลาให้เรียบร้อย ทางบริษัทจะจ้างคนมาขนให้ครับ แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายแนะนำเลยว่า ควรจะติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันขึ้นไป ยิ่งถ้าใครกลับช่วงปลายเดือนมีนา คนใช้บริการจะเยอะมากกก บางทีถ้าเราติดต่อไปช้า วันที่ให้เค้ามารับของ อาจจะไม่ได้วันที่ต้องการ

กรณี ที่เป็น door-to-port อันนี้จะถูกหน่อย ราคาจะอยู่ที่ 55,000 เยน (จากโตเกียว) แต่ต้องถ่อสังขารอันร่วงโรยไปที่ท่าเรือ พร้อมฟัดกับกรมศุลกากร หลักฐานพร้อมอะไรพร้อมก็ไม่มีปัญหาไรครับ จะเหนื่อยก็ไอ้ตอนแบกของนี่หละ 55+

ส่วนกรณี door-to-door จะต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่มให้ที่ไทยอีกประมาณ 6400 บาทครับ (ส่งเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑลเขตที่ไม่ใช่บ้านนอก) แพงหน่อย แต่กลับไปแล้ว ก็หย่อนตูดนอนอยู่บ้านดูทีวี เล่นคอมให้สบายใจเฉิบ ทางบริษัท logistic ของญี่ปุ่นในไทยจะมาส่งให้เองถึงที่บ้าน รับรองว่าสภาพกล่องไม่ถูกนำไปปู้ยี้ปู้ยำเหมือนใช้บริการ ยูโฉะไทย แน่นอน 55+

ตอนของผมเป็นบริษัท logitem โดนเค้าจะขอ passport กับ id card ตัวจริงเราไปด้วย แล้วจะโดนนำไปดองไว้เป็นสัปดาห์ สองสัปดาห์ ต้องโทรเฉ่ง…เอ้ยโทรไปกราบกราน พี่ครับผมรบกวนขอบัตรประชาชนผมด้วยยย ผมจะใช้แล้วว T^T

ส่วนเรื่องระยะเวลาขนของ…ขึ้นอยู่กับเคลียร์ภาษีเร็วมั้ย บางกล่องอาจโดนกรมศุลทิ่มกล่องตรวจสอบบ้าง เพื่อแงะๆดูข้างใน กับความขยันของผจก. ที่โทรมาขอ passport กะ id นั่นแหละ ทีไอ้ตอนให้ messenger มารับบัตรนี่โคตรจะรวดเร็วบอกไปตอนเช้า เย็นมาแระ…ไอ้ตอนรอของนี่ต้องให้โทรไปถามมมมม แถมมีโรคเลื่อนมาให้อีก – -“

แต่ใครกลับเมษาก็ทำใจนิด…เพราะมันติดสงกรานต์ กว่าจะเคลียร์เสร็จก็นานหน่อยครับ (ของแม่มมาถึงก่อนสงกรานต์ตั้งแต่ 8 เมษา เคลียร์ภาษีเสร็จ 10 …แต่ส่งให้กรู 21 เมษา…มันหมายความว่างายยยยยย แสรดดดด

สำหรับรายละเอียด จิ้ม link เข้าไปดูได้ที่หน้าเวปเลยครับ

http://www.kenko-net.co.jp/kaigai/t_ikou.html

5. Economove japan

แบบที่ห้า สำหรับคนของเยอะโคดดๆ มีของชิ้นใหญ่มากๆ เช่น ทีวีจอยักษ์ จักรยาน โซฟา ตู้ชั้นต่างเตียง ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เรียกว่าย้ายสำมะโนครัวจากโตเกียวกลับไปไทย เหมาะกับอาเสี่ยๆทั้งหลาย

ขอแนะนำบริการที่โคดสบาย (แต่แม่งแพงชิบหายยยย) ของ economove japan ครับ

อันนี้ไม่จำกัดความจุ น้ำหนักใดๆทั้งสิ้น (จากหน้าเวปแนะนำว่าใครที่จะใช้ควรมีของที่มี ความจุ 3 ลบ.ม. ขึ้นไป)

เรียก ใช้บริการจะมีเจ้าหน้าที่มาทำทุกอย่างให้ ตั้งแต่สำรวจของ แพ็คของลงกล่อง ขนส่ง ทำ inventory list ให้เคลียร์ภาษี เอาของมาส่งที่บ้าน พร้อมประกอบคืน สรุปเราไม่ต้องทำอะไรเลยนอก เพียงแค่นั่งแคะขี้มูก หรือจะนอนกลิ้งเกลือก พนง.เสร็จปุ๊บงานเสร็จปั๊บ

สนนราคาที่เริ่มต้นที่ประมาณ 20 ใบเอง… ถู๊ก ถูก(- -“) บวกค่าประกันสินค้าไปด้วย ซิ่งมีหลาย option ให้เลือก ซึ่งไม่ทำไม่ได้

(ใครจะขนของกลับไปแล้วทุบให้เจ๊งเอาเงินประกันก็ได้นะ ประกันมันจ่ายเงินคืนมากกว่าตัวสินค้าอีก 55+)

ส่วนระยะเวลาที่ใช้ เค้ารับประกันเพียงแค่ 7 วันครับไม่มีเกิน (เร็วเว่ออออ)

ส่วนรายละเอียดตามเวปนี้ไปได้เลยครับ คนเขียนไม่เคยใช้บริการมะกัน กดเข้าไปมันมีรายละเอียดเวอร์ชั่นอิงลิชอยู่

http://www.economovejapan.com/index.htm

คิดว่าน่าจะพอเป็นแนวทางได้นะครับ ถ้าข้อมูลตรงไหนผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยคร๊าบ

ปูลิง ใครอยากหาเพิ่มเติม ลองค้นด้วยคำว่า 海外引越 ได้เลยครับ

————————————————————————————-

คิดว่าจบแล้วหละดิ…กระผมมีทิปเล็กน้อยมาบอก ก่อนจะกลับไทย

ถ้ารู้ว่าจะต้องกลับวันไหน…. มีขยะใหญ่ที่ต้องทิ้ง ควรรีบติดต่อเขต จะโทรไปหรือทำรายการในเนตก็ได้ เชควันที่ให้ดี เพราะวันที่รับขยะใหญ่ๆ มันต้องเผื่อเวลาไว้ 1 เดือน (แบบเพลเซฟ) ไม่งั้นอาจโดนเพื่อนบ้านด่า หรือโอย่าด่าได้ โทษฐานเอาขยะชิ้นใหญ่ เช่น ฟุตงขนาดมหึมา มาทิ่งไว้ตรงเสาไฟฟ้า ซึ่งมันต้องไปสติกเกอร์ติดประจานชื่อแระที่อยู่ (มะเปงไร กรูมะอยุ่แล้ว อยากด่าด่าปายยยย 55+)

เรื่องค่าน้ำ ไฟ แก๊ส….อย่าทิ้งบิลเดือนสุดท้ายเด็ดขาด เพราะมันต้องใช้ お客様番号 ในการทำรายการยกเลิกผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่งั้นก็ต้องไปรบกวนให้พี่ๆน้องๆ ที่คุยญี่ปุ่นคล่องคุยให้แทน โดยที่เราสามารถนัดให้เค้ามาเก็บตังวันนั้นได้เลย (ซึ่งถ้าใครยังไม่ย้ายออกจากบ้าน ก็เนียนๆใช้ต่อได้ 55+) อีกอย่างตอนที่เค้ามาเก็บตัง ให้ดูให้ดีว่าเค้าคิดตังรวมกับเดือนที่แล้วด้วยหรือไม่ ไม่งั้นจะเสียค่าโง่แบบผม จ่ายค่าน้ำเดือนที่แล้วไปแล้วแต่เสือกลืม จ่ายให้เค้าใหม่อีกรอบแบบงงๆก๊งๆ (แต่ไม่ต้องกลัว เค้าจะโอนเงินกลับมาให้เราครับ….แต่จะกลับไทยแล้ว ส่วนใหญ่คงไปปิดบัญชีกันหมด – -“ แต่พอดีคนเขียนไม่ได้ปิดบัญชีเพราะเผื่อกลับมาใหม่ (มึงจะยังกลับมาเรียนต่ออีกหรอ…55+))

ปล. ขอบคุณพี่แก้ว ที่ช่วยเก็บเงินค่าน้ำให้ผมด้วยครับ m(_ _)m

ท้ายนี้ขอให้ทุกคนที่เดินทางกลับโชคดีครับ อย่าซวยแบบผมที่เพิ่งไปแจ้งบอกฟุโดซังว่าไม่มีไรเสีย แล้วพอกลับไปเอาของในห้อง ดันเสือกมีพายุลมจากไหนไม่รุ้พัดมา ทำให้เหล็กยึดประตูพัง…. ดีที่ฟุโดซังไม่มาตรวจเชคเอง เพราะเห็นเป็นเด็กไทย (แอบสารภาพบาปนะนิ 55+)

ท้ายสุดจริงๆ เดินทางกลับกันโดยสวัสดิภาพครับ

Bon Voyage

credit: ขอบคุณพี่โอ๋กับพี่แก้ว สำหรับที่คอยเป็นธุระสอบถามให้ด้วยคร้าบ

แล้วก็ doc เก่าที่พี่ป่านเขียน (ขอบคุณข้อมูลเบอร์ zeatrans จากพี่กุ้งด้วยครับ)

Credit เพิ่มเติมเวอร์ชั่นใหม่ ขอบคุณ fb thai tokodai ที่ให้ผมได้โพสไว้เก็บข้อมูลด้วย ไม่งั้นคงต้องเขียนใหม่หมด ซึ่งคงโม้ใหม่ไม่ไหว = =”

ปลลลลล….นี่กรูโม้ได้ 5 หน้ากระดาษเลยหรอฟระเนี่ย 555+