Content > Handbook

การเช่าบ้าน

ช่องทางการหาบ้าน

  1. ไปที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ต้องการเข้าอยู่อาศัย (ฟุโดซัง 不動産)
  2. อินเตอร์เน็ต หรือ แอพพลิเคชัน
  3. ปรึกษาแผนกที่รับผิดชอบนักศึกษาต่างชาติของทางมหาวิทยาลัยได้


วิธีอ่านข้อมูลบ้าน

家賃(やちん) ค่าเช่าบ้าน

最寄駅(もよりえき) สถานีที่ใกล้ที่สุด

徒歩(とほ) ระยะเวลาการเดินทางไปถึงบ้านจากสถานี
ปกติคำนวณโดยให้ 1นาทีเท่ากับการเดินเป็นระยะทาง 80 เมตร
ไม่ได้คิดเวลาในกรณีการเดินขึ้นเนิน,ขึ้นบันได หรือ รอสัญญาณไฟ

ชนิดบ้าน
アパート มักจะเป็นตึก 1-2 ชั้น ไม่มีลิฟต์ และไม่มีคนดูแลส่วนกลาง
マンション มักมีหลายชั้น จึงมักจะมีลิฟต์ มีคนดูแล จึงมีการเก็บค่าดูแลส่วนกลางทุกเดือน
一戸建て บ้านเดี่ยว

จำนวนชั้น
5階建て ตึกมี5ชั้น
ตำแหน่งของชั้น
ห้องขั้นล่างปลอดภัยน้อยกว่า และหน้าหนาวจะหนาว และอาจมีปัญหาเรื่องแมลง
ห้องชั้นบนสุดหน้าร้อนจะร้อนเพราะโดนแดด

ประเภทห้อง
ワンルーム ห้องสตูดิโอ ไม่มีการแบ่งห้อง
2K = ห้องนอน 2 ห้อง + ห้องครัว
2DK = ห้องนอน 2 ห้อง + ห้องกลางขนาดใหญ่หน่อย(ใช้เป็นห้องครัวและกินข้าว)
3LDK = ห้องนอน 3 ห้อง + ห้องกลางขนาดใหญ่มาก(ใช้เป็นห้องครัวกินข้าวและนั่งเล่น)
LDK = Living Dining Kitchen

ประเภทห้อง
洋室(ようしつ) ห้องแบบตะวันตก
和室(わしつ) ห้องแบบเสื่อทาทามิ

ห้องน้ำ
共同(きょうどう) ห้องน้ำรวม
トイレ付 มีห้องน้ำในตัว
トイレ別 แยกห้องน้ำ(โถส้วม)และห้องอาบน้ำ
風呂付(ふろつき) มีอ่างอาบน้ำ

エアコン มีเครื่องปรับอากาศ
สำหรับห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ บางทีจะไม่อนุญาตให้ติดเครื่องปรับอากาศด้วย เพราะต้องมีการเจาะกำแพง สำหรับแอร์(ทำความเย็น)อาจต้องซื้อแบบ 窓タイプ(まどタイプ) ที่ไม่ต้องเจาะกำแพง แต่จะทำความเย็นไม่ดีเท่าแบบธรรมดา

南向(みなみむき ) ระเบียงหันหน้าทางทิศใต้ (ตากผ้าแห้งดี)

สิ่งที่มีและสิ่งที่ไม่มีในห้อง

– สิ่งที่มีในห้อง… ไฟฟ้า,แก๊ส, น้ำประปา
– สิ่งที่ไม่มีในห้อง…อุปกรณ์ให้แสงสว่าง,เตาแก๊สปรุงอาหาร,เตาอบ และเครื่องเรือน เป็นต้น

การทำสัญญา
โดยทั่วไปสัญญามีอายุ 2ปี

เอกสารที่จำเป็นตอนทำสัญญา
1 บัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าว
2 ใบรับรองรายได้
3 ผู้ค้ำประกันหรือใบคำมั่น
สัญญา
4 ใบรับรองการจดทะเบียนตราประทับเป็นต้น

เงินที่จำเป็นต้องใช้ตอนทำสัญญา
1 ค่าเช่าเดือนปัจจุบัน และค่าเช่าหนึ่งเดือนล่วงหน้า
2 ค่ามัดจำ
3 ค่าธรรมเนียมการเข้าพักอาศัย
4 ค่านายหน้า
เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆเมื่อจะเช่าบ้านหรือห้องพักแล้วจำเป็นจะต้องใช้
เงินประมาณ 5-6 เดือนของค่าเช่า

อธิบายคำศัพท์สำหรับการพักอาศัย
不動産屋(ふどうさんや)บริษัทอสังหาริมทรัพย์
เป็นบริษัทที่แนะนำบ้านหรือห้องเช่าของเอกชน หรือ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

家賃(やちん)ค่าเช่า
ค่าเช่าที่อยู่อาศัยเป็นระยะเวลา1เดือน ทุกเดือนจะต้องจ่ายค่าเช่าของเดือนถัดไป ด้วยเหตุนี้ตอนย้ายเข้าครั้งแรกจึงต้องจ่ายค่าเช่า 2 เดือนซึ่งเป็นค่าเช่าของเดือนที่ย้ายเข้า กับค่าเช่าของเดือนถัดไปปกติแล้วค่าเช่าจะหักจากบัญชีธนาคาร บางครั้งชำระโดยการโอนเงินทางบัญชี

管理費(かんりひ)、共益費(きょうえきひ)ค่าดูแล /ค่าใช้พื้นที่ร่วมกัน
เป็นเงินค่าดูแลอุปกรณ์,ค่าไฟ,ค่าทำความสะอาดพื้นที่ที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นๆที่อาศัยอยู่(บันได,ระเบียงทางเดิน เป็นต้น

敷金(しききん)เงินค่าประกัน
เป็นเงินที่เจ้าของบ้าน(ผู้ถือครองบ้าน)เก็บเอาไว้ตอนที่ผู้เช่าทำสัญญา คิดเงินเท่ากับค่าเช่าประมาณ1-3เดือน เก็บไว้ใช้ในกรณีที่ผู้เช้าย้ายที่อยู่ใหม่โดยที่ไม่จ่ายค่าเช่า หรือ ไว้สำหรับเป็นค่าซ่อมแซม รอยเปื้อนที่ทำไว้ เป็นต้น ถ้ามีเงินเหลือจะได้รับคืน

礼金(れいきん)เงินขอบคุณ
เป็นเงินที่จ่ายตอนทำสัญญาเพื่อแสดงความขอบคุณเจ้าของบ้าน คิดเป็นเงินเท่ากับค่าเช่าบ้าน 1-2 เดือนไม่คืนเงินให้

仲介手数料(ちゅうかいてすうりょう)ค่าธรรมเนียมการแนะนำ
เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่แนะนำห้องเช่าให้ ปกติจ่ายโดยคิดเป็นเงินค่าเช่า 1เดือน

損害保険料(そんがいほけんりょう)ค่าประกันความเสียหาย
เป็นการจ่ายเงินในกรณีที่จำเป็นจะต้องประกันความเสียหายของทรัพย์สินต่างๆที่อยู่ในบ้านตอนทำสัญญา จะได้รับการประกันอัคคีภัย หรือน้ำรั่ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของการประกัน

契約更新料(けいやくこうしんりょう)ค่าธรรมเนียมต่อสัญญา
โดยปกติสัญญาเช่าบ้านจะมีอายุสัญญา 2 ปี เมื่อครบ 2 ปีแล้วต้องการทำสัญญาอีกบางครั้งเจ้าของบ้าน จะเรียกเก็บเงินค่าต่อสัญญาคิดเป็นเงิน ค่าเช่า 1เดือน

連帯保証人(れんたいほしょうにん)ผู้ค้ำประกัน
เป็นบุคคลที่จะรับผิดชอบในการชำระเงินแทนในกรณีที่ผู้เช่าไม่ชำระเงินส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน ตอนทำสัญญา ถ้าไม่มีผู้รับประกันบางกรณีสามารถให้บริษัทเป็นตัวแทนผู้ค้ำประกันได้

町内会(ちょうないかい)、自治会(じちかい)สมาคมเมืองและสมาคมเพื่อนบ้าน
องค์กรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องที่ ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันหมู่ประชาชน เช่น กิจกรรมแจ้งข่าวสารจากเทศบาล และการฝึกซ้อมรับมือกับอุบัติภัย เป็นต้น บางครั้งจะต้องจ่ายค่าสมาชิก (ประมาณ 300 เยนต่อเดือน)

同居者(どうきょしゃ)ผู้ร่วมพักอาศัย
กรณีที่มีผู้ร่วมพักอาศัยจะต้องแจ้งเจ้าของบ้านตอนทำสัญญาถ้าให้ผู้อื่นเข้ามาอาศัยด้วยโดยไม่ได้ทำการแจ้ง บางกรณีจะถูกไล่ออก

แหล่งข้อมูล
http://www.clair.or.jp/tagengorev/th/m/index.html